ปัญหาในการจัดเก็บวัสดุเหล็กเพื่อรอจำหน่ายหรือรอติดตั้ง มักพบว่าหากจัดเตรียม Packaging กันสนิมสำหรับจัดเก็บวัสดุเหล็กและโลหะไว้ไม่ดีพอ มีโอกาสที่สินค้าเหล่านั้นจะเกิดสนิมได้อย่างง่ายและเกิดสนิมได้รวดเร็ว (Flash Corrosion) ทำให้ส่งมอบลูกค้าไม่ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเหล็กสำหรับงานก่อสร้าง เช่น เหล็ก RB (Round Bar) , เหล็ก DB (Dowel Bar) ฯลฯ ที่มีการ Stock ไว้ที่หน้างานก่อนที่จะนำมาผูกเป็นเหล็กเสริมในคอนกรีต หรือพวก I-Beam , Wide Flange, เหล็กโครงเคร่า ฯลฯ ที่เก็บไว้ในโกดังเพื่อรอนำไปติดตั้งเชื่อมกันเป็นเหล็กโครงสร้าง Truss หรือ Frame หากเกิดสนิมจนเกินกว่าค่าที่ทาง Code วิศวกรรมจะยอมรับได้ ต้องทำการแก้ไขให้คราบสนิมเหล่านั้นหมดไป หรือถ้าเป็นหนักมาก ๆ ก็จะถูก Reject ห้ามใช้เหล็กชิ้นนั้นในการก่อสร้าง และต่อให้เก็บเหล็กไว้อย่างดีแล้วก็ตาม แม้ไม่มีสนิมก่อนที่จะนำไปเทคอนกรีตหุ้ม แต่พบว่าพวกปลายเหล็กที่โผล่ออกมาหลังจากเทคอนกรีตอมไปแล้ว เช่น เหล็กหัวเสา ฯลฯ ที่โผล่เอาไว้สำหรับเชื่อมต่อกับเหล็กอีกโครงสร้าง หากเกิดสนิมขึ้นก็ต้องทำการขัดให้เรียบร้อยก่อนที่จะทำงานต่อไปได้ ทำให้เสียทั้งเวลาและต้นทุนค่าวัสดุและค่าแรง เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ แต่ละโรงงานหรือร้านค้าที่มีการจัดเก็บวัสดุเหล็กจึงต้องพึ่งพา Packaging กันสนิมสำหรับจัดเก็บวัสดุเหล็กและโลหะ
อีกกลุ่มที่พบก็จะเป็นอุปกรณ์โลหะที่เก็บไว้ใน Stock เพื่อรอขาย ทั้งในรูปแบบสินค้ามือหนึ่งและมือสอง เช่น อะไหล่มือสอง เหล็กมือสอง ฯลฯ เช่นที่พบเห็นตามตลาดเชียงกง (หรือเซียงกง) ก็ประสบปัญหาเช่นกันในการเก็บ Stock หากวัสดุโลหะเหล่านี้เกิดสนิมจนทำให้สภาพดูแย่ลง จะไม่สามารถเรียกราคาขายให้สูงขึนได้ การใช้ Packaging กันสนิมสำหรับจัดเก็บวัสดุเหล็กและโลหะจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญในการลดต้นทุนเหล่านี้ในการกำจัดหรือป้องกันสนิม ที่พบเห็นอย่างทั่วไปคือเป็นวัสดุ VCI ที่แปรรูปออมาเป็นแบบถุง ซึ่งทำให้ใช้พร้อมใช้ ไม่ต้องการแรงงานฝีมือที่ซับซ้อน เนื่องจากใช้งานง่ายโดยขนาดที่พบจะมีตั้งแต่ถุงขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่แบบถุงมุ้งคลุมเครื่องจักรกันสนิม ซึ่งถุงพลาสติกกันสนิม ZERUST นั้นได้ใช้แพร่หลายในแต่ละประเทศรวมถึงโรงงานหรือร้านค้าที่เก็บวัสดุเหล็กและโลหะในไทยเช่นเดียวกัน
การใช้ถุงพลาสติกกันสนิม ZERUST หรือ ถุงมุ้งคลุมเครื่องจักรกันสนิม ในการเป็น Packaging กันสนิมสำหรับจัดเก็บวัสดุเหล็กและโลหะ เป็นที่แพร่หลายมากกับโรงงานที่ไม่ต้องการที่จะปวดหัวไปกับการแก้ไขเรื่องของสนิม อีกทั้งมีโอกาสที่จะแก้สนิมออกได้ไม่หมดจนทำให้ต้องไปลงราคาสินค้านั้นลง หรือเกิดต้นทุนในการ reject สินค้าเหล่านั้น มีกรณีศึกษาที่พบว่าโรงงาน Powertrain Parts ที่ใช้ถุงพลาสติกกันสนิม ZERUST ปีละ 1.2 ล้านใบ สามารถลดค่าวัสดุทางตรง (Direct Material Cost) ได้ถึงปีละ 9 แสนบาท และภาพลักษณ์ของสินค้าที่ส่งไปถึงมือผู้ว่าจ้างเป็นไปด้วยดี ทำให้มีการว่าจ้างอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีการเก็บเหล็กโครงสร้างไว้ในโครงการ การใช้ถุงพลาสติกกันสนิม ZERUST หุ้มในช่วงที่รอนำไปก่อสร้าง จะช่วยลดการใช้แรงงานที่ไม่จำเป็นเพื่อแรงงานเอาไปใช้ล้างหรือกำจัดสนิมเหล่านี้ และไม่ต้องกังวลที่ Consult จะ Reject เหล็กเหล่านี้ก่อนที่จะเทคอนกรีตอีกต่อไป