อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์จะมีกระบวนการผลิตที่ต้องพึ่งพาการนำชิ้นส่วนยานยนต์ (Auto Parts) จาก OEM เพื่อเข้ามาประกอบที่ตัวโรงงานหลัก หัวใจของการสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของ OEM เหล่านี้ก็คือเรื่องของคุณภาพของชิ้นส่วนเหล่านั้น นอกจากชิ้นส่วนต้องมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่ถูกต้องแล้ว ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะต้องถึงมือลูกค้าอย่างไร้สนิม ในทำนองเดียวกับตลาดอะไหล่รถยนต์มือสอง หากมีการเก็บชิ้นส่วนรถไว้ไม่ดีพอจนเกิดสนิม ทำให้ราคาขายต่อจะตกต่ำลงกว่าอะไหลที่ดูดีมีสนิมน้อย
วิธีการป้องกันการเกิดสนิมก็จะมีแตกต่างกันไป ที่พบเห็นในอดีตก็จะมีการชะโลมน้ำมันที่พื้นผิวซึ่งถือเป็นวัสดุกันสนิมชิ้นส่วนยานยนต์ได้ระดับหนึ่ง และเก็บลงหีบห่อปิดมิดชิดให้ดีจนเกิดเป็นชุด Packaging กันสนิมอะไหล่รถยนต์ และบางแห่งต้องอยู่ในตู้หรือห้องที่มีการควบคุมความชื้นเพื่อกันสนิมเหล็ก อย่างไรก็ตามการขนส่งชิ้นส่วนเหล่านี้ที่เป็นระยะทางไกลและใช้เวลานาน มีโอกาสที่จะเจอกับสภาพอากาศที่เลวร้าย ก็ต้องการการปกป้องเรื่องสนิมที่มากขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามมา อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่าบางจุดของชิ้นส่วนยานยนต์ (Auto Parts) วิธีการชะโลมน้ำมันจะไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดสนิมอยู่ดี จึงมีการพัฒนาวิธีการกันสนิมแบบใช้วิธีการคลุมหรือหุ้มด้วยถุงกันสนิมใส่ชิ้นส่วนยานยนต์ (VCI bags for auto parts) หรือกระดาษกันสนิมชิ้นส่วนยานยนต์ ให้ถือว่าเป็นวัสดุกันสนิมชิ้นส่วนยานยนต์ในการลดปัญหาการเกิดสนิมเหล่านี้ได้ดีกว่าการใช้ของเหลว (น้ำมัน) ทาชะโลมผิว
มีกรณีศึกษามากมายจากทั่วทุกมุมโลกสำหรับโรงงานผลิตยานยนต์ที่ใช้วัสดุกันสนิมชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทที่เป็น VCI อย่างถุงกันสนิมใส่ชิ้นส่วนยานยนต์ (VCI bags for auto parts) หรือ กระดาษกันสนิมชิ้นส่วนยานยนต์ และแปรรูปแบบอื่นๆ พบว่าทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการเรื่องสนิมต่อปีได้มาก เช่น บริษัท Major US auto manufacturer ทำตัวเลขการประหยัดได้ถึง 3 ล้านบาท สำหรับต้นทุน Rework cost และ Scrap cost ซึ่งผลลัพธ์ที่ลูกค้าพึ่งพอใจ 100% ทำให้ตลาดของโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีทิศทางที่ใช้วัสดุกันสนิมชิ้นส่วนยานยนต์กันมากขึ้น แทนที่จะไปใช้วิธีการกันสนิมแบบดั้งเดิมที่วุ่นวายกว่าและมีต้นทุนสูงกว่า